พระนามของรัชกาลที่ 10
ชื่อเต็มในหลวงรัชกาลที่ 10
มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร
ประวัติรัชกาลที่ 10
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร” เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น.
ซึ่งพระนาม “วชิราลงกรณ” นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงตั้งถวาย มาจาก “วชิรญาณ” พระนามฉายาขณะผนวชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ผนวกกับ ”อลงกรณ์” จากพระนามในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
การศึกษา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงได้รับการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต และทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจิตรลดา ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๙ –๒๕๐๕ ที่ประเทศอังกฤษระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๙ – ๒๕๑๓
หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย แล้วเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การศึกษาด้านทหาร) คณะการศึกษาด้านทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรประจำชุดที่ ๕-๖ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑ และทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ครั้นถึง พ.ศ.๒๕๓๓ ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักรด้วย
เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ปวงชนชาวไทยต่างมีความปลาบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามาภิไธย ตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า
“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร”
พระราชกรณียกิจ
พระราชกรณียกิจ : ด้านเกษตรกรรม
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลัก ของปวงชนชาวไทยตลอดมา เช่น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจำ และ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2529 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักเป็นปฐมฤกษ์จากผักตบชวาและพืชอื่น ๆ ณ บ้านแหลม สะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอ บางนางบวช ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เพื่อช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นให้ได้มีเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ และนำมาปรับปรุงงานเกษตรกรรมของตนให้ได้ผลผลิตมากขึ้น และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทองอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2529 ในการนี้ ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง เมื่อพระราชทานอุปกรณ์ การทำนา พันธ์ข้าวปลูก และปุ๋ยหมักให้ข้าราชการ ผู้ใหญ่ไปดำเนินการสาธิตแล้ว ได้ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้า ราชการและประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทในพิธีการวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแหล่งน้ำใน หลายพื้นที่ เช่น ศูนย์การเรีนรู้และพัฒนาด้านการเกษตรกรรมเกษตรวิชญา บ้านกองแหะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2545 ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ได้ทรงรับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ไว้ในพระราชานุเคราะห์และทรงพระราชา นุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อไว้ในเครื่องหมายตราสัญลักษณ์โครงการ ด้วยทรงประสงค์จะให้บริการแก่เกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ต่อมาในปี 2549 ได้พระราชทาน ที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแห หมู่ที่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงบน พื้นที่สูงให้แก่เกษตรกรอย่างครบวงจรประจำภาคเหนือ ภายใต้ชื่อโครงการเกษตรวิชญา อันเป็นการสานต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
พระราชกรณียกิจ : ด้านการศึกษา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทราบดีว่าเยาวชนในถิ่นทุรกันดารยังด้อยโอกาสในการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 โรงเรียนได้แก่โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา จังหวัดนครพนม กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี จังหวัดอุดรธานี สงขลา และ ฉะเชิงเทรา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เอง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ พระราชทานคำแนะนำ และทรงส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินโครงการอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน เช่น โครงการอาชีพอิสระ เพื่อให้เยาวชนใช้ความรู้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนและครอบครัวได้เมื่อจบการศึกษา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ทรงติดตามผลการศึกษา และโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และหม่อมเจ้าสิริวัณวรี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงร่วมกิจกรรมของโรงเรียนต่างๆ เสมอทั้งนี้ด้วยน้ำพระหฤทัยที่ทรงพระเมตตาห่วงใยเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และในด้านอุดมศึกษา พระองค์ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ บัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ปีละเป็นจำนวนมากทุกปี ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.) “เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนผู้ยากไร้แต่เรียนดี ความประพฤติดี ให้ได้ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ต่อเนื่องไปจนจบปริญญาตรี และจนถึงขั้นสูงสุดตามความสามารถของผู้รับทุน เพื่อเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ” และทรงเน้นย้ำว่า“เมื่อทําโครงการมาแล้ว จําเป็นต้องศึกษา ติดตาม และพัฒนาแผนในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง การทํางานที่ได้ผล ต้องศึกษาข้อมูล มีการปรับแผนให้ทันสมัย และมีความใส่ใจที่จะทํางานต่อเนื่อง..”
พระราชกรณียกิจ : ด้านการต่างประเทศ
สมเด็จพระบรมโอรสาธราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระวิริยะอุตสาหะประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญๆ ในการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ เสมอมา ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีปอย่างเป็นทางการเป็นประจำทุกปีๆ ละหลายครั้งเช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศอิตาลี และทรงพบพระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2525 ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 8 มีนาคม พ.ศ. 2530 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ทรงพบนายเติ้ง เสี่ยวผิง ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง เสด็จพระราชดำเนินทรงเยือนประเทศญี่ปุ่น ทรงพบ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2530 ประเทศต่างๆที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเจริญสัมพันธไมตรีในฐานะผู้แทนพระองค์ และในส่วนของพระองค์เอง มีอีกเป็นจำนวนมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศใดนั้น จะทรงเตรียมพระองค์ ด้วยการศึกษาเกี่ยวกับประเทศที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนอย่างละเอียด ทุกครั้ง ระหว่างประทับอยู่ในประเทศดังกล่าว ก็จะทรงมุ่งมั่นสร้างสานเจริญทางพระราชไมตรีและมีความสนพระทัยที่จะเสด็จพระ ราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการด้านต่างๆ เพื่อทรงนำกลับมาปรับและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ
วิดีโอเพลงสดุดีจอมราชา
หน้าที่ของตนเองต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัติย์
- เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
- แสดงออกถึงการรักชาติ เช่น การยืนตรงเพื่อเคารพธงชาติ แสดงถึงการรักชาติ
- ช่วยกันรักษาคุณธรรม จริยธรรม
- ช่วยกันรักษาสมบัติของชาติ
อ้างอิง
https://news.mthai.com/webmaster-talk/525488.html
https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/43066.html
http://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/data_king_family/king_RamaX_1.htm