วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Techology


Techology คือ อะไร?


       



     เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี 

กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อ

ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน

ให้มีมากยิ่งขึ้น

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

    1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว

    2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด

    3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก

ความสำคัญของเทคโนโลยี

    1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์

    2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา

    3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

     ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ 

และ เทคโนโลยี ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจน

สามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้

ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม 

เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเรียบง่ายกลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิด

กระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความ

ก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอ นิกส์ 

โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อๆ 

ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความ

เคลือนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และ

ธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ

บทบาทหน้าที่ของเทคโนโลยี

    ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวก

สบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี 

เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อ

ตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็น

จำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทาง

เชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา


วิวัฒนาการเทคโนโลยี (Evolution of Technolgy)

     เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปขั้นตอนการเปลี่ยนนแปลงขึ้นอยู่กับ

กระบวนการทางวิวัฒนาการ (Evolution) ของระบบหรือเครื่องมือนั้นๆ ดังนั้นคำว่าวิวัฒนาการของ

เทคโนโลยี (Evolution of Technology) จึงหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่

เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ

เทคโนโลยีล้าสมัย

1.โทรศัพท์มือถือ



   ยังจำมือถือไซส์กระติกน้ำกันได้ไหม หลังจากนั้นผู้ผลิตก็เริ่มพัฒนาให้ขนาดมันเล็กลงจนพกพาได้

สะดวกมากขึ้นและเล็กลงเรื่อยๆ รวมทั้งพัฒนาจอขาว-ดำให้เป็นหน้าจอสี แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟน

ก็เริ่มพัฒนาให้หน้าจอใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แถมยังใช้แอปพลิเคชันและเล่นเน็ตได้อีกต่างหาก จนถึงขนาดที่

ปัจจุบันสามารถทำธุรกรรมบนมือถือได้แล้ว


2.โทรทัศน์



  จากจอแก้วขาวดำที่ถูกพัฒนาให้เป็นโทรทัศน์สี ตามด้วยจอแบน จนกระทั่งจอ LCD/LED ในปัจจุบัน 

พร้อมทั้งพัฒนาให้มีขนาดหน้าจอและความละเอียดที่มากขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งจอ 3D และใช้อินเทอร์เน็ตได้ 

หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชันก็ยังใช้ได้ จนปัจจุบันยังสามารถเชื่อมต่อกับทั้งโทรศัพท์มือถือหรือ

คอมพิวเตอร์ได้ ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นอีก


3.สื่อบันทึกข้อมูลด้านบันเทิง


   สมัยก่อนสื่อบันทึกข้อมูล เช่น ภาพยนตร์หรือเพลงจะบันทึกลงในม้วนเทป แต่เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอลก็ถูก 

เปลี่ยนเป็นแผ่น Optical Disc (CD/DVD/Blu-ray) และล่าสุดก็มีการดูหนังฟังเพลงแบบออนไลน์กันแล้ว 

จริงๆ แล้วเคยมีแผ่น MD ของโซนี่ด้วยนะ แต่หลายคนอาจจะลืมกันไปแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ได้

สร้างผลกระทบกับธุรกิจหลายธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างมาก อาทิ ร้านเช่าวีดีโอ 

หรือร้านขายแผ่นซีดีเพลง นั่นเอง


4.ที่เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์


  ฮาร์ดดิสก์ในยุคแรกๆ มีขนาดที่ใหญ่มโหฬารและราคาที่แพงมาก แต่มีความจุอันน้อยนิด รวมทั้งแผ่น 

Floppy Disk สุดคลาสสิกที่เคยใช้กันอย่างแพร่หลายนั้นมีความจุเพียงแค่ 1.44MB เท่านั้น ลองเทียบกับ

ยุคนี้ที่ความจุนับสิบ-ร้อย GB มีขนาดเล็กแค่ปลายนิ้วมือดูสิ แถมปัจจุบันยังพัฒนาจนมีระบบ Cloud ที่

เก็บไฟล์ได้มหาศาลและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกสถานที่เพียงแต่มีอินเทอร์เน็ตอีกด้วย


5.เครื่องเล่นเกม


   สมัยเด็กๆ ใครที่ชอบเล่นเกมน่าจะได้สัมผัสเกมยุคที่ยังใช้ตลับกันอย่างแน่นอน แถมจอยเกมก็มีปุ่มให้

กดเพียงไม่กี่ปุ่มเท่านั้น แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป จากที่เป็นตลับก็เปลี่ยนมาใช้แผ่น Optical Disc จอยก็

เริ่มมีก้านอนาล็อกเริ่มมีปุ่มให้ได้บังคับกันมากขึ้นพร้อมกับกราฟฟิกที่ถูกพัฒนาให้สวยงามสมจริงมากยิ่ง

ขึ้น จนปัจจุบันมีเทคโนโลยี VR เข้ามาประกอบทำให้การเล่นเกมส์สมจริงราวกับว่าเราได้เข้าไปอยู่ใน

โลกของเกมส์จริงๆ


6.อินเทอร์เน็ต


   มันน่าหงุดหงิดเนอะที่เวลาจะเล่นเน็ตแล้วต้องมารอ Connect บางทีก็ต่อไม่ค่อยติด ช้าก็ช้า กับ 

ความเร็วแค่ 56k โทรศัพท์ดังเน็ตก็ชอบหลุด แต่สมัยนี้เค้าปาเข้าไปเป็น 10-100Mbps กันแล้ว สาย

โทรศัพท์ก็กลายเป็นสายไฟเบอร์ใยแก้วนำแสง โหลดอะไรก็เร็วไปหมด อีกอย่างคือค่าบริการ

อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันก็ถูกกว่าเมื่อก่อนอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับความเร็วในการเชื่อมต่อข้อมูล

แล้ว


7.กล้องถ่ายรูปจากยุคกล้องอนาล็อก



  ใช้ฟิล์มในการเก็บภาพ ฟิล์มม้วนนึงถ่ายได้แค่ 30 กว่ารูป ถ่ายเสร็จต้องไปให้ร้านถ่ายรูป

อัดรูปให้ รูปออกมาไม่สวยก็ทำใจกันไป เพราะตอนถ่ายมันดูตัวอย่างไม่ได้ แต่ปัญหาก็หมด

ไปเมื่อเข้าสู่ยุคกล้องดิจิทัล ไม้ต้องง้อฟิล์มอีกต่อไป เก็บรูปลงเมมโมรี่ ถ่ายแล้วไม่ถูกใจก็ลบ

ทิ้งถ่ายใหม่ได้เรื่อยๆ และล่าสุดกล้องถ่ายรูปก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ถ่ายรูปแล้วแชร์

บนโซเชียลเน็ตเวิร์คได้ทันทีด้วย

แหล่งที่มา

- https://sites.google.com/site/technologydaw/home/khwam-ru-beux-ng-tn-keiyw-kab-khxmphiwtexr/khxmul-laea-sarsnthes/thekhnoloyi

- https://www.g-able.com/digital-review/7

- https://www.youtube.com/watch?v=1UwhLKwgnAY

ฝุ่น PM 2.5


  • PM2.5 คือ อะไร ?



  •      PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 
  • ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรองได้
  •      PM2.5 จึงสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงาน
  • ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง ตามคำเตือนขององค์การอนามัย
  • โลก

  •   
  • - PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ขนจมูกไม่สามารถกรองได้
  • - PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน อาจเทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 
  • ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กขนาดที่ขนจมูกของมนุษย์นั้นไม่สามารถกรองได้ ทำให้
  • ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการ
  • ทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
  •      
  •      หลายวันมานี้ หลายคนคงพอสังเกตเห็นได้ว่าในท้องฟ้าของเรานั้นปกคลุมไปด้วยหมอกจางๆ โดย
  • หารู้ไม่ว่าที่ตาเรามองเห็นนั้นกลับไม่ใช่หมอก หากแต่คือฝุ่นควันที่มีมากจนเกินค่ามาตรฐาน ดังที่กรม
  • ควบคุมมลพิษได้ออกมากล่าวว่า หมอกหนาทึบที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 
  • ที่เกินมาตรฐาน


                  

     PM2.5 มาจากไหน ?

       


     โดยที่ PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลักคือ

     1. แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่

        - การเผาในที่โล่ง ปล่อย PM2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูก

    พืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ใน

    ภาคเหนือตอนบนของไทยและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมไปถึงหมอกควันพิษข้ามพรมแดน
        
        - การคมนาคมขนส่ง ปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้ง

    ดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และ

    ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) อีกด้วย
        
        - การผลิตไฟฟ้า ปล่อย PM2.5 ราว 31,793 ตันต่อปี แม้จะมีค่า PM2.5 น้อยกว่าการเผาในที่โล่งและ

     การคมนาคมขนส่ง หากแต่กลับมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์

     ของไนโตรเจน (NOx) สู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด
       
        - อุตสาหกรรมการผลิต ปล่อย PM2.5 ราว 65,140 ตันต่อปี โดยพบมากที่สุดในพื้นท่ีเขตควบคุม  
  
      มลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมีและอุตสาหกรรม
 
     2. การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของ

   ไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งมีสารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติก

   ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์

   PM2.5 อันตรายแค่ไหน ?


        ด้วยองค์ประกอบของสารพิษเหล่านี้ ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ PM2.5 จัดอยู่ใน

    กลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิต

    ก่อนวัยอันควร

   ป้องกัน PM2.5 ได้อย่างไร ?


     ในการเลือกหน้ากากอนามัย ให้เราสังเกตุหน้าซองที่ระบุว่า สามารถป้องกันฝุ่นได้? และป้องกันฝุ่นผงขนาดเท่าไหร่บ้าง?

        แต่ที่กรองป้องกันฝุ่น PM 2.5 ❌ ไม่ได้แน่นอนเลย คือ

        1. หน้ากากแบบผ้า : ไม่มีคุณสมบัติกรองฝุ่นได้เลย ใส่ไปหายใจฝุ่นก็เข้าไปอยู่ดี

     2.หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป : กรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ที่เล็กกว่าไม่ได้

     3.หน้ากากอนามัยพร้อมชั้นกรองคาร์บอน : หน้ากากแบบนี้ใช้ได้ดีในบริเวณที่มีควันรถยนต์ เช่น 

   กรุงเทพฯ ซึ่งสามารถกรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้ เช่นกัน

        ส่วนหน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5ได้ คือ

         1. หน้ากากกรองอนุภาค รุ่น R95 เป็นหน้ากากที่คนทำงานเกี่ยวกับพ่นสีหรือไอระเหยใช้กัน ป้องกัน

    ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ยังได้

       2. หน้ากากกรองอนุภาคเส้นใยไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ได้เหมือนกัน แถม  

     ยังป้องกัน ฟูมโลหะ ที่เกิดจากการเชื่อมตะกั่วบัดกรีได้อีกด้วย

     สำหรับ 2 ข้อแรก คุณสมบัติอาจจะเกิดความจำเป็นสำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะทาง พ่นสี 

  ไอระเหย งานเชื่อม เพราะฉะนั้นหน้ากากที่แนะนำให้ควรใช้คือ

       3. หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง ที่ระบุว่าเป็นเส้นใยประจุไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 

      0.3 ละออง เชื้อโรค และฟูมโลหะ ป้องกันได้ถึง 95% มีมาตรฐาน NIOSH หาซื้อง่ายตามห้างสรรพ

      สินค้า หรือห้างที่มีอุปกรณ์ช่างขาย ราคา 30-50 บาท มีให้เลือกใช้หลายยี่ห้อ

        แต่ๆๆ ที่สำคัญ‼️การใส่หน้ากากอนามัยไม่ควรใช้นานเกินไป หากมีสภาพที่สกปรกหรือหายใจแล้วเริ่ม

    ได้กลิ่นภายนอก แสดงว่าอาจจะเสื่อมสภาพแล้วควรเปลี่ยนโดยเร็ว 

    ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 14 จังหวัด



         กรีนพีซ ได้รายงานค่าฝุ่นละอองจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษทั้งหมด 

    61 แห่งใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีจำนวนสถานีที่ตรวจวัดและรายงานค่า PM2.5 อยู่เพียง 25 

    สถานีใน 18 จังหวัด พบค่า PM2.5 สูงสุดอยู่ที่จังหวัดสระบุรี (หน้าพระลาน) ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม 

    จำนวน 36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และรองลงมาคือกรุงเทพฯ (ธนบุรี) จำนวน 31 ไมโครกรัมต่อ

    ลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่ามาจากการคมนาคมสัญจร

        โดยในจำนวนสถานีทั้งหมดที่รายงานมา พบว่ามีหนึ่งสถานีในกรุงเทพฯ (เคหะชุมชนดินแดง) ที่ไม่

     พบค่า PM2.5 เนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

    ค่ามาตราฐาน PM2.5



         - ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารหรือที่อยู่อาศัยหากไม่จำเป็น และ

      - งดสูบบุหรี่

      - ดื่มน้ำสะอาดมากๆ

      - ล้างมือและหน้าบ่อยๆ

       - รักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย

       - เมื่อมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์

       - ผู้ป่วยโรคหอบหืดและผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรพกยาติดตัวไว้ตลอดเวลา

         PM2.5




          แหล่งที่มา

          - https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/

       - https://www.youtube.com/watch?v=P7MBAsGytco




Python


Python คืออะไร ?





   Python เป็นภาษาเขียนโปรแกรมระดับสูงที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการเขียนโปรแกรมสำหรับ

วัตถุประสงค์ทั่วไป ภาษา Python นั้นสร้างโดย Guido van Rossum และถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน

ปี 1991 Python นั้นเป็นภาษาแบบ interprete ที่ถูกออกแบบโดยมีปรัญชาที่จะทำให้โค้ดอ่านได้

ง่ายขึ้น และโครงสร้างของภาษานั้นจะทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโค้ด

โดยใช้บรรทัดที่น้อยลงกว่าภาษาอย่าง C++ และ Java ซึ่งภาษานั้นถูกกำหนดให้มีโครงสร้างที่

ตั้งใจให้การเขียนโค้ดเข้าใจง่ายทั้งในโปรแกรมเล็กไปจนถึงโปรแกรมขนาดใหญ่


ประวัติของภาษา Python 

    ภาษา Python นั้นกำเนิดขึ้นในปลายปี 1980 และการพัฒนาของมันนั้นเริ่มต้นใน December 

1989 โดย Guido van Rossum ที่ Centrum Wiskunde & Informatica (CWI) ในประเทศ

เนเธอร์แลนด์ เนื่องในผู้ประสลความสำเร็จในการสร้างภาษา ABC ที่มีความสามารถสำหรับการ 

exception handling และการติดต่อผสานกับระบบปฏิบัติการ Amoeba ซึ่ง Van Rossum นั้นเป็น

ผู้เขียนหลักการของภาษา Python และเขาทำหน้าเป็นกลางในการตัดสินใจสำหรับทิศทางการ

พัฒนาของภาษา Python
Python 2.0 ได้ถูกเผยแพร่ใน 16 October 2000 และมีคุณสมบัติใหม่ที่

โดดเด่น ที่ประกอบไปด้วย cycle-detecting garbage collector และ

สนับสนุน Unicode กับการเผยแพร่ครั้งนี้ กระบวนการพัฒนานั้นได้เปลี่ยน

ไปโดยการร่วมกันพัฒนาด้วย Community มากขึ้น
Python 3.0 (ซึ่งได้มีการพัฒนามาก่อนหน้านี้และได้อ้างถึงโดยใช้ชื่อว่า 

Python 3000 หรือ py3k) มันการพัฒนาที่ถอยหลังซึ่งมันเข้ากันกับ 

Python ในเวอร์ชันก่อนหน้าไม่ได้ ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ใน 3 December 2008 หลังจากที่ได้มีการ

ทดสอบอยู่เป็นเวลานาน คุณสมบัติที่สำคัญของมันจำนวนมากได้ถูกย้อนกลับไปเพื่อให้เข้ากันได้

กับ Python 2.6.x และ 2.7.x เวอรฺชันซีรีย์

ไวยากรณ์ของภาษา Python

   
    ภาษา Python นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีความตั้งใจว่าจะให้เป็นภาษาที่อ่านง่าย มันถูก

ออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่มองเห็นได้โดยไม่ซับซ้อน โดยมักจะใช้คำในภาษาอังกฤษในขณะที่

ภาษาอื่นใช้เครื่องหมายวรรคตอน นอกจากนี้ Python มีข้อยกเว้นของโครงสร้างทางภาษาน้อย

กว่าภาษา C และ Pascal

ดาวน์โหลดภาษา Python

   ในการติดตั้งภาษา Python คุณต้องไปที่หน้าดาวน์โหลดของภาษา Python เพื่อดาวน์โหลด

โปรแกรมลงคอมพิวเตอร์ของคุณก่อน หน้าดาวน์โหลด Python

   ในหน้าของการดาวน์โหลด จะปรากฏ Package ของภาษา Python สองเวอร์ชัน เราจะเลือกติด

ตั้งเวอร์ชันล่าสุด คือ Python 3.6.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันทีได้รับการพัฒนาล่าสุดและมีคุณสมบัติใหม่

เพิ่มเข้ามามากมาย


   หลังจากนั้นคุณจะเข้ามาในหน้าของเวอร์ชัน 3.6.0 ในเลื่อนลงมาในส่วนของ Files คุณจะเห็น

รายการของ Python package ที่รองรับ ให้เลือกแพลตฟอร์มที่คุณต้องการ ในตัวอย่างเราเลือก 

"Windows x86 executable installer" สำหรับการติดตั้งบน Windows หลังจากนั้นให้รอจนกว่า

การดาวน์โหลดจะเสร็จสมบูรณ์

การติดตั้งภาษา Python

   หลังจากที่คุณได้ทำการดาวน์โหลดภาษา Python เรียบร้อย

แล้ว ต่อไปจะเป็นการติดตั้งภาษา Python ลงบนคอมพิวเตอร์

ของคุณสำหรับการเขียนโปรแกรม ซึ่งใน Software package ที่

เราได้ดาวน์โหลดมาจะประกอบไปด้วยภาษา Python และ

คุณสมบัติเพิ่มเติมอย่าง Python Interactive shell 

Documentation Pip และ Python test suit
   ต่อไปเป็นขั้นตอนการติดตั้งภาษา Python ใน Windows ให้ไปที่สถานที่ที่คุณดาวน์โหลด

ภาษา Python ไว้และคลิกที่ไฟล์ "python-3.6.0.exe" และคลิกที่ "Run"

   หลังจากนั้นหน้าต่างของการติดตั้งจะปรากฏขึ้นมา คลิกเลือกที่ "Add Python 3.6 to PATH" 

เพื่อให้ระบบทำการกำหนด PATH เพื่อให้ภาษา Python สามารถทำงานได้กับ Command line 

อัตโนมัติในทุกที่ คลิกที่ "Install now " เพื่อเริ่มการติดตั้งภาษา Python คุณอาจจะเปลี่ยนแปลง

ตัวเลือกสำหรับการติดตั้งด้วยตัวเองโดยเลือกที่ "Customize install" เช่น เปลี่ยนสถานที่ที่

ต้องการติดตั้ง เป็นต้น

รอจนกว่าการติดตั้งจะเสร็จ หลังจากที่การติงตั้งเสร็จสิ้นแล้ว คลิก "Close" เพื่อเสร็จสิ้นการติดตั้ง

ภาษา Python

ทำความรู้จักกับ Python เบื้องต้น



แหล่งที่มา 

- http://marcuscode.com/lang/python
- http://marcuscode.com/lang/python/introduction
- http://marcuscode.com/lang/python/installing-python

- https://www.youtube.com/watch?v=s-LYQNHmc00






วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

อาเซียน


ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

(Association of South East Asian Nations : ASEAN) 

ตราสัญลักษณ์อาเซียน

"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน


- รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
- วงกลม หมายถึง เอกภาพของอาเซียน
- ตัวอักษร "asean" สีน้ำเงินใต้ภาพรวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

ความหมายของสีในตราสัญลักษณ์อาเซียน

- สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 
- สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ 
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 

- สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

1.ประเทศบรูไน(BRUNEI)




เมืองหลวงบรูไน : บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (Bandar Seri Begawan)
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง(Salamat Datang)
ศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธนิกายมหายาน 13%, ศาสนาคริสต์ 10%
วันชาติบรูไน : วันที่ 23 กุมภาพันธ์
การเมืองการปกครองบรูไน : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
พื้นที่ :  5,769 ตร.กม. ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ประชากร : มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน (น้อยที่สุดในอาเซียน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติ มลายู รองลงมาคือ จีน และชนพื้นเมืองต่าง
ภาษา : ภาษามาเลย์เป็น ภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษกันทั่วไปทั้งในราชการ การค้า ภาษาจีนใช้กันในกลุ่มคนจีน
อาหารประจำชาติบรูไน : อัมบูยัต เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน
สัตว์ประจำชาติบรูไน : เสือโคร่ง
สกุลเงินบรูไน : ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  7 มกราคม 1984

ดอกไม้ประจำชาติ :  ดอกซิมปอร์ (Simpor)

2.ประเทศกัมพูชา (CAMBODIA)


เมืองหลวง กัมพูชา : กรุงพนมเปญ
คำทักทาย : ซัวสเด(Shuo Sa Dai)  
ศาสนา : พุทธร้อยละ 95, อิสลามร้อยละ 3, คริสต์ร้อยละ 1.7, พราหมณ์-ฮินดูร้อยละ 0.3
วันชาติกัมพูชา : วันที่ 9 พฤศจิกายน
การเมืองการปกครองกัมพูชา : ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
พื้นที่ :  180,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 14.7 ล้านคน ชาวเขมรร้อยละ 90 ชาวญวนร้อยละ 5 ชาวจีนร้อยละ 1 และอื่นๆ ร้อยละ 4
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
อาหารประจำชาติกัมพูชา : อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย
สัตว์ประจำชาติกัมพูชา : กูปรี หรือโคไพร เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
สกุลเงินกัมพูชา : เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1999
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกลำดวน (Rumdul)

3.ประเทศอินโดนีเซีย (INDONESIA)


เมืองหลวงอินโดนีเซีย : จาการ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
คำทักทาย : ซาลามัต เซียง(Salamat Siang) 
ศาสนา : อิสลามร้อยละ 88 คริสต์ร้อยละ 8 ฮินดูร้อยละ 2 พุทธร้อยละ 1 และศาสนาอื่นๆร้อยละ 1
วันชาติอินโดนีเซีย : วันที่ 17 สิงหาคม
การเมืองการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
พื้นที่ :  1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติอินโดนีเซีย : กาโด กาโด (Gado Gado) ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช 
สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย : มังกรโคโมโด
สกุลเงินอินโดนีเซีย : รูเปียห์ (Rupiah) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)

4.ประเทศลาว (LAOS)



เมืองหลวงลาว : เวียงจันทร์
คำทักทาย : สะบายดี(Sabaidee)
ศาสนา : ศาสนาพุทธ(เถรวาท) คริสต์ อิสลาม นับถือผี
วันชาติลาว : วันที่ 2 ธันวาคม
การเมืองการปกครอง ลาว : สาธารณรัฐสังคมนิยม พรรคการเมืองเดียว คือ พรรคปฏิวัติประชาชนลาว 
พื้นที่ : ประมาณ 236,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติลาว : ซุบไก่ (Chicken Soup)
สัตว์ประจำชาติลาว : ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง  
สกุลเงินลาว : กีบ (Kip)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  เข้าร่วมสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 8 วันที่ 23 ก.ค. 1997
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกจำปาลาว (Dok Champa)

5.ประเทศมาเลเซีย (MALAYSIA)



เมืองหลวงมาเลเซีย : กัวลาลัมเปอร์ 
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง(Salamat Datang)
ศาสนา : อิสลาม ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4, พุทธ ร้อยละ 19.2, คริสต์ ร้อยละ 11.6, ฮินดู ร้อยละ 6.3 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
วันชาติมาเลเซีย : วันที่ 31 สิงหาคม
การเมืองการปกครองมาเลเซีย : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
พื้นที่ :  ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 30,018,242 ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%  
ภาษา : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
อาหารประจำชาติมาเลเซีย : นาซิเลอมัก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย  เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร, สะเต๊ะ เป็นอาหารที่รู้จักแพร่หลาย  นิยมใช้เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ย่างบนเตาถ่าน  รับประทานกับน้ำจิ้มรสชาติหวานหอมเผ็ด และเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติมาเลเซีย : เสือโคร่ง
สกุลเงินมาเลเซีย : ริงกิต (Ringgit) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกพู่ระหง (Bunga Raya)

6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (MYANMAR)



เมืองหลวงเมียนมาร์ : เนปีดอ (Naypyidaw)
คำทักทาย : มิงกาลาบา (Mingalar Par)
ศาสนา : พุทธ 90%, คริสต์ 5%, อิสลาม 3.8%
วันชาติ : วันที่ 4 มกราคม
การเมืองการปกครองเมียนมาร์ : ระบบเผด็จการทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
พื้นที่ :  677,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%, ไทใหญ่ 9%, กะเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 3.50%, จีน 2.50%, มอญ 2%, คะฉิ่น 1.50%, อินเดีย 1.25%, ชิน1%, คะยา 0.75% และอื่นๆ 4.50%
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติเมียนมาร์ : หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติเมียนมาร์ : เสือ
สกุลเงินเมียนมาร์ : จ๊าด (Kyat) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ.1997

ดอกไม้ประจำชาติ :  ดอกประดู่ (Paduak)

7.ประเทศฟิลิปปินส์ (PHILIPPINES)




เมืองหลวงฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา
คำทักทาย : กูมุสตา(Kumusta)
ศาสนา : ร้อยละ 92.5 นับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์
วันชาติฟิลิปปินส์ : วันที่ 12 มิถุนายน
การเมืองการปกครองฟิลิปปินส์ : ระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
พื้นที่ :  300,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 103,000,000 คน
ภาษา : ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติฟิลิปปินส์ : อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากหมู หรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบ หรือทอด และรับประทานกับข้าว
สัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ : กระบือ เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว
สกุลเงินฟิลิปปินส์ : เปโซ (Peso)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : วันที่ 8 สิงหาคม

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine

8.ประเทศสิงคโปร์ (SINGAPORE)





เมืองหลวงสิงคโปร์ : สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว
คำทักทายหนีห่าว(Ni Hao)
ศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
วันชาติ : วันที่ 9 สิงหาคม
การเมืองการปกครองสิงคโปร์ : ปกครองแบบสาธารณรัฐ มีรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภาวาระคราวละ 5
พื้นที่ :  697.1 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 5,469,700 คน ประกอบด้วยชาวจีน 75%, มาเลย์ 15%, อินเดีย 10%
ภาษา : ภาษาราชการ มี 4 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาทมิฬ
อาหารประจำชาติสิงคโปร์ : ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง
สัตว์ประจำชาติสิงคโปร์ : สิงโต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต
สกุลเงินสิงคโปร์ : ดอลล่าร์สิงคโปร์ 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : 8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim)

9.ประเทศเวียดนาม (VIETNAM)


เมืองหลวงเวียดนาม : กรุงฮานอย
คำทักทาย : ซินจ่าว(Xin Chao) 
ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อ มุสลิม
วันชาติ : วันที่ 2 กันยายน
การเมืองการปกครองเวียดนาม : ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
พื้นที่ :  331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 89,693,000 คน
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติเวียดนาม : แหนม หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารยอดนิยมของเวียดนาม หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณเป็นยานานาชนิด
สัตว์ประจำชาติเวียดนาม : กระบือ
สกุลเงินเวียดนาม : ด่ง (Dong) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : วันที่ 28 มกราคม 1995
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกบัว (Lotus)

10.ประเทศไทย (THAILAND)



เมืองหลวงไทย: กรุงเทพมหานคร
คำทักทาย : สวัสดี(Sawadee)
ศาสนา : พุทธ 93.83%, อิสลาม 4.56%, คริสต์ 0.80%, ฮินดู 0.086%, ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36%
วันชาติ : วันที่ 5 ธันวาคม
การเมืองการปกครองไทย: ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 65,124,716 คน
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติไทย :  ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong), ส้มตำ
สัตว์ประจำชาติ ไทย: ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 
สกุลเงินไทย : บาท (Baht)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : 8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek)




อ้างอิง

https://guru.sanook.com/8631/

https://saraasean.weebly.com/10358836353607363335853607363436183629363436483595363736183609.html

https://sites.google.com/site/woraluk2543/phaph-kickrrm














Techology

Techology คือ อะไร?               เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบ...