- PM2.5 คือ อะไร ?
- PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25
- ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรองได้
- PM2.5 จึงสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงาน
- ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง ตามคำเตือนขององค์การอนามัย
- โลก
- - PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ขนจมูกไม่สามารถกรองได้
- - PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน อาจเทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25
- ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กขนาดที่ขนจมูกของมนุษย์นั้นไม่สามารถกรองได้ ทำให้
- ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการ
- ทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
- หลายวันมานี้ หลายคนคงพอสังเกตเห็นได้ว่าในท้องฟ้าของเรานั้นปกคลุมไปด้วยหมอกจางๆ โดย
- หารู้ไม่ว่าที่ตาเรามองเห็นนั้นกลับไม่ใช่หมอก หากแต่คือฝุ่นควันที่มีมากจนเกินค่ามาตรฐาน ดังที่กรม
- ควบคุมมลพิษได้ออกมากล่าวว่า หมอกหนาทึบที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
- ที่เกินมาตรฐาน
PM2.5 มาจากไหน ?
โดยที่ PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลักคือ
1. แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่
- การเผาในที่โล่ง ปล่อย PM2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูก
พืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ใน
ภาคเหนือตอนบนของไทยและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมไปถึงหมอกควันพิษข้ามพรมแดน
- การคมนาคมขนส่ง ปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้ง
ดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) อีกด้วย
- การผลิตไฟฟ้า ปล่อย PM2.5 ราว 31,793 ตันต่อปี แม้จะมีค่า PM2.5 น้อยกว่าการเผาในที่โล่งและ
การคมนาคมขนส่ง หากแต่กลับมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์
ของไนโตรเจน (NOx) สู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด
- อุตสาหกรรมการผลิต ปล่อย PM2.5 ราว 65,140 ตันต่อปี โดยพบมากที่สุดในพื้นท่ีเขตควบคุม
มลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมีและอุตสาหกรรม
2. การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของ
ไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งมีสารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติก
ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์
PM2.5 อันตรายแค่ไหน ?
ด้วยองค์ประกอบของสารพิษเหล่านี้ ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ PM2.5 จัดอยู่ใน
กลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิต
ก่อนวัยอันควร
ป้องกัน PM2.5 ได้อย่างไร ?
ในการเลือกหน้ากากอนามัย ให้เราสังเกตุหน้าซองที่ระบุว่า สามารถป้องกันฝุ่นได้? และป้องกันฝุ่นผงขนาดเท่าไหร่บ้าง?
แต่ที่กรองป้องกันฝุ่น PM 2.5 ❌ ไม่ได้แน่นอนเลย คือ
1. หน้ากากแบบผ้า : ไม่มีคุณสมบัติกรองฝุ่นได้เลย ใส่ไปหายใจฝุ่นก็เข้าไปอยู่ดี
2.หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป : กรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ที่เล็กกว่าไม่ได้
3.หน้ากากอนามัยพร้อมชั้นกรองคาร์บอน : หน้ากากแบบนี้ใช้ได้ดีในบริเวณที่มีควันรถยนต์ เช่น
กรุงเทพฯ ซึ่งสามารถกรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้ เช่นกัน
ส่วนหน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5ได้ คือ
1. หน้ากากกรองอนุภาค รุ่น R95 เป็นหน้ากากที่คนทำงานเกี่ยวกับพ่นสีหรือไอระเหยใช้กัน ป้องกัน
ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ยังได้
2. หน้ากากกรองอนุภาคเส้นใยไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ได้เหมือนกัน แถม
ยังป้องกัน ฟูมโลหะ ที่เกิดจากการเชื่อมตะกั่วบัดกรีได้อีกด้วย
สำหรับ 2 ข้อแรก คุณสมบัติอาจจะเกิดความจำเป็นสำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะทาง พ่นสี
ไอระเหย งานเชื่อม เพราะฉะนั้นหน้ากากที่แนะนำให้ควรใช้คือ
3. หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง ที่ระบุว่าเป็นเส้นใยประจุไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM
0.3 ละออง เชื้อโรค และฟูมโลหะ ป้องกันได้ถึง 95% มีมาตรฐาน NIOSH หาซื้อง่ายตามห้างสรรพ
สินค้า หรือห้างที่มีอุปกรณ์ช่างขาย ราคา 30-50 บาท มีให้เลือกใช้หลายยี่ห้อ
แต่ๆๆ ที่สำคัญ‼️การใส่หน้ากากอนามัยไม่ควรใช้นานเกินไป หากมีสภาพที่สกปรกหรือหายใจแล้วเริ่ม
ได้กลิ่นภายนอก แสดงว่าอาจจะเสื่อมสภาพแล้วควรเปลี่ยนโดยเร็ว
ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 14 จังหวัด
กรีนพีซ ได้รายงานค่าฝุ่นละอองจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษทั้งหมด
61 แห่งใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีจำนวนสถานีที่ตรวจวัดและรายงานค่า PM2.5 อยู่เพียง 25
สถานีใน 18 จังหวัด พบค่า PM2.5 สูงสุดอยู่ที่จังหวัดสระบุรี (หน้าพระลาน) ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม
จำนวน 36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และรองลงมาคือกรุงเทพฯ (ธนบุรี) จำนวน 31 ไมโครกรัมต่อ
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่ามาจากการคมนาคมสัญจร
โดยในจำนวนสถานีทั้งหมดที่รายงานมา พบว่ามีหนึ่งสถานีในกรุงเทพฯ (เคหะชุมชนดินแดง) ที่ไม่
พบค่า PM2.5 เนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง
ค่ามาตราฐาน PM2.5
- ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารหรือที่อยู่อาศัยหากไม่จำเป็น และ
- งดสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
- ล้างมือและหน้าบ่อยๆ
- รักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย
- เมื่อมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์
- ผู้ป่วยโรคหอบหืดและผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรพกยาติดตัวไว้ตลอดเวลา
PM2.5
แหล่งที่มา
- https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/- https://www.youtube.com/watch?v=P7MBAsGytco
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น